ความรู้พื้นฐาน

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

การเรียกคืนข้อมูล Backupandrestore

การเรียกคืนข้อมูล Backupandrestore

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกเป็นไฟล์อิมเมจ (HDD to Image)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์เป็นไฟล์อิมเมจ คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์ (พาร์ทิชั่นทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์) ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิมเมจ

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์แบบพาร์ทิชั่นไปยังพาร์ทิชั่น (Partition to Partition)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์แบบพาร์ทิชั่นไปยังพาร์ทิชั่น คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลบนพาร์ทิชั่นต้นทางไปยังพาร์ทิชั่นปลายทาง โดยข้อมูลบนพาร์ทิชั่นปลายทางจะเหมือนกับพาร์ทิชั่นต้นทางทุกอย่าง

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ (HDD to HDD)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าทั้งลูกไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์ต้นทาง (พาร์ทิชั่นทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์) ไปยังฮาร์ดดิสก์ปลายทาง โดยข้อมูลจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

  • การแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ (Files to HDD)

การแบ็คไฟล์ข้อมูลไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ คือการแบ็คอัพ หรือสำรองไฟล์ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวอื่น โดยไฟล์ข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

  • การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่น (Image to Partition)

การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่น คือการเรียกคืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่นที่ต้องการ โดยข้อมูลบนพาร์ทิชั่นนั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

  • การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ทั้งลูก (Image to HDD)

การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ คือการเรียกคืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ โดยข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

ข้อควรปฏิบัติในการแบ็คอัพข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

– ไม่ควรแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไว้บนหน้าเดสก์ท็อป

– ควรแยกแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลออกจากพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ติดตั้งระบบปฏิบัติการ

– ควรแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไว้บนฮาร์ดดิสก์แบบพกพา หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก (External Hard disk)

– แบ็คอัพไฟล์ข้อมูลอยู่เสมอ

สิ่งที่ควรทำก่อนแบ็คอัพข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

ก่อนทำการแบ็คอัพข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ คุณจำเป็นต้องทำ Computer Cleaning หรือ Deep Cleaning เพื่อทำความสะอาด หรือกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่ไม่จำเป็น, กำจัดไวรัส, ลบไฟล์ หรือรีจิสตรี้ขยะ, ซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์ และรีจิสตรี้เออเรอร์ เป็นต้น

Posted by adminone in ความรู้พื้นฐาน
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

 

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics ขั้นตอนการตรวจเช็ก และแก้ปัญหาบูตคอมพิวเตอร์ช้า ติดตั้งวินโดวส์ไม่ได้

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics เมื่อปรากฏหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Check Disk Drive C ให้เลือกออปชั่น Automaticallyfix file system errors = ซ่อมแซมส่วนที่เกิดความผิดพลาดหรือเออเรอร์ของระบบให้โดยอัตโนมัติ และ Scan for and attempt recovery of bad sector =
สแกนหรือตรวจเช็ก และเรียกคืนส่วนที่เกิด Bad Sector บนจานดิสก์ จากนั้นคลิกปุ่มStart ระบบจะปรากฎหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์แจ้งเตือนให้คุณทราบว่า Windows can’t checkthe disk while it’s in user = วินโดวส์ไม่สามารถตรวจเช็กดิสก์ หรือไดรฟ์นี้ได้
เพราะกำลังถูกใช้งานอยู่ (ในกรณีที่ดิสก์ หรือไดรฟ์นั้นถูกติดตั้งวินโดวส์)

แต่ระบบจะทำการสแกนและซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์หลังจากรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ครั้งต่อไป โดยคลิกปุ่ม Scheduledisk check

สำหรับกรณีที่คุณใช้งานวินโดวส์ 8 ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Error Checking

ถ้าหากไดรฟ์ไม่มีปัญหา หรือข้อผิดพลาด (Error)ระบบก็จะแสดงข้อความให้คุณเห็นว่า you don’t need to scan this drive =
คุณไม่จำเป็นต้องสแกนดิสก์ หรือไดรฟ์นี้แต่เพื่อความแน่นอนแนะนำให้สแกนไดรฟ์ดีกว่า โดยคลิกที่ปุ่ม Scan driveอย่างไรก็ตามถ้าหากไดรฟ์มีปัญหา ให้คลิกปุ่ม Repair drive เพื่อซ่อมแซมส่วนที่มีปัญหา

 

ในขั้นตอนนี้เมื่อตรวจเช็ก ซ่อมแซมไดรฟ์ หรือฮาร์ดดิสก์เรียบร้อยแล้ว

ให้คลิกปุ่ม Show Details เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนที่มีปัญหาและซ่อมแซมผ่านเครื่องมือ Event Viewer อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการสแกนหรือตรวจเช็กไดรฟ์ C เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจเช็กหรือซ่อมแซมไดรฟ์ที่เหลือทุกไดรฟ์บนคอมพิวเตอร์ด้วย

 

เปิดคอมพิวเตอร์แล้ว สักพักคอมพิวเตอร์ดับคอมพิวเตอร์จะมีระบบป้องกัน

โดยการปิดหรือชัตดาวน์ตัวเองทันทีเมื่อคอมพิวเตอร์มีอุณหภูมิหรือความร้อนที่สูงมากเกินกว่าค่าที่ถูกกำหนดเอาไว้ (ซีพียูทำงานหนักมากเกินไป)ซึ่งโดยปกติแล้วสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ก็คือตัวพัดลมระบายความร้อนของเพาเวอร์ซัพพลายไม่ทำงาน
หรือพัดลมระบายความร้อนซีพียูไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเต็มที่และมีโปรแกรมหรือเซอร์วิสแปลกๆ บนวินโดวส์โหลดทรัพยากรซีพียูมากเกินไปซึ่งโปรแกรมเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมไวรัสที่เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

Posted by adminone in ความรู้พื้นฐาน