เดือน: พฤศจิกายน 2019

ตรวจสอบ Additional Domain Controller

ตรวจสอบ Additional Domain Controller

ตรวจสอบDomain

ตรวจสอบDomain เมื่อได้ล็อกออนเข้าสู่โดเมน siam2019.com แล้ว ลองทำการตรวจสอบการเป็น Additional Domain Controller โดยไปที่หน้าต่าง Server Manager เลือกแท็บ Local Server สังเกตชื่อเครื่อง Penguin77 ได้อยู่ในโดเมน siam2019.com

เปิดเครื่องมือ Active Directory Users and Computers มาที่คอนเทนเนอร์ Domain Controller จะเห็นว่ามีเครื่องมือที่เป็น Domain Controller อยู่ 2 เครื่องคือ Capricorn และ Penguin77 มี DC Type เป็น GC และในหน้าจอ PowerShell ให้พิมพ์คำสั่ง nbtstat –n จะแสดงรายชื่อเครื่องที่ลงทะเบียนในระบบ

การติดตั้ง Primary Domain Controller บน Server Core

เป็นวิธีสร้างความปลอดภัยและป้องกันการโจมตีโดเมนคอนโทรลเลอร์ โดยการใช้โหมด Server Core ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการรูปแบบใหม่ที่มีตั้งแต่ Windows Server 2008 เพราะ Server Core ไม่มี Graphic Mode ที่เพิ่มภาระในการประมวลผล ไม่ติดตั้งระบบ Component, Binary, Services ต่างๆ ที่ไม่จำเป็น ทำให้ Server Core ถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ได้น้อยมาก แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถทำงานกับ Roles ได้ทุกตัว

รู้จัก Unattend Installation

เป็นการติดตั้ง Windows Server หรือส่วนการทำงานต่างๆ โดยกำหนดข้อมูลคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องรอการกรอกข้อมูลจากยูสเซอร์ เราจะติดตั้งโดเมนคอนโทรลเลอร์แบบ Unattend ด้วยคำสั่ง DCPROMO ร่วมกับสคริปต์ไฟล์ออพชัน /unattend:filename ไฟล์ Unattend นี้จะเป็นเท็กซ์ไฟล์ธรรมดาที่เก็บคำสั่งและคำตอบในการติดตั้ง Active Directory ปกติแล้วไฟล์ unattend เป็นแบบ Case Insensitive คือ ไม่สนใจตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ – พิมพ์เล็ก ยกเว้นรหัสผ่านเท่านั้น ในไฟล์ Unattend จะมีส่วน (Section) ของ [DCInstall] สำหรับกำหนดรูปแบบในการติดตั้ง Active Directory

วางแผนการติดตั้งโดเมนคอนโทรลเลอร์ในแบบ Unattend Installation

– ต้องการให้เป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวแรก (New Domain) ของระบบ หรือเป็นโดเมนเสริมการทำงาน (Replica Domain)

– โดเมนมีชื่อว่าอะไร มีความสัมพันธ์ (Trust) กับฟอเรสต์เดิม (Join to Forest) หรือไม่ หรือสร้างเป็นฟอเรสต์ใหม่ (New Forest)

– ใช้โฟลเดอร์ใดในการเก็บไฟล์ฐานข้อมูลของ Active Directory ที่ชื่อ NTDS.dit ไฟล์ทรานเซกชัน ล็อก รวมทั้งโฟลเดอร์ Sysvol

– สิทธิ์ของยูสเซอร์ในการสร้างโดเมนคอนโทรลเลอร์ ถ้าเป็นการติดตั้งโดเมนคอนโทรลเลอร์ตัวแรก (New Domain) จะต้องใช้ยูสเซอร์ Local Administrator แต่ถ้าติดตั้งโดเมนคอนโทรลเลอร์ใหม่ภายใต้โดเมนเดิม (Exist Forest) ต้องใช้ยูสเซอร์ที่เป็นประเภท Enterprise Admin Group

Posted by adminone in คอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

การเรียกคืนข้อมูล Backupandrestore

การเรียกคืนข้อมูล Backupandrestore

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกเป็นไฟล์อิมเมจ (HDD to Image)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์เป็นไฟล์อิมเมจ คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์ (พาร์ทิชั่นทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์) ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิมเมจ

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์แบบพาร์ทิชั่นไปยังพาร์ทิชั่น (Partition to Partition)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์แบบพาร์ทิชั่นไปยังพาร์ทิชั่น คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลบนพาร์ทิชั่นต้นทางไปยังพาร์ทิชั่นปลายทาง โดยข้อมูลบนพาร์ทิชั่นปลายทางจะเหมือนกับพาร์ทิชั่นต้นทางทุกอย่าง

  • การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ (HDD to HDD)

การแบ็คอัพฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าทั้งลูกไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ คือการสำรอง หรือสำเนาข้อมูลทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์ต้นทาง (พาร์ทิชั่นทั้งหมดบนฮาร์ดดิสก์) ไปยังฮาร์ดดิสก์ปลายทาง โดยข้อมูลจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

  • การแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ (Files to HDD)

การแบ็คไฟล์ข้อมูลไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ คือการแบ็คอัพ หรือสำรองไฟล์ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าไปยังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวอื่น โดยไฟล์ข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

  • การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่น (Image to Partition)

การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่น คือการเรียกคืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังพาร์ทิชั่นที่ต้องการ โดยข้อมูลบนพาร์ทิชั่นนั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

  • การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ทั้งลูก (Image to HDD)

การกู้คืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ คือการเรียกคืนข้อมูลจากไฟล์อิมเมจไปยังฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ โดยข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่าง

ข้อควรปฏิบัติในการแบ็คอัพข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

– ไม่ควรแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไว้บนหน้าเดสก์ท็อป

– ควรแยกแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลออกจากพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ติดตั้งระบบปฏิบัติการ

– ควรแบ็คอัพไฟล์ข้อมูลไว้บนฮาร์ดดิสก์แบบพกพา หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก (External Hard disk)

– แบ็คอัพไฟล์ข้อมูลอยู่เสมอ

สิ่งที่ควรทำก่อนแบ็คอัพข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

ก่อนทำการแบ็คอัพข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ คุณจำเป็นต้องทำ Computer Cleaning หรือ Deep Cleaning เพื่อทำความสะอาด หรือกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่ไม่จำเป็น, กำจัดไวรัส, ลบไฟล์ หรือรีจิสตรี้ขยะ, ซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์ และรีจิสตรี้เออเรอร์ เป็นต้น

Posted by adminone in ความรู้พื้นฐาน
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

 

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics ขั้นตอนการตรวจเช็ก และแก้ปัญหาบูตคอมพิวเตอร์ช้า ติดตั้งวินโดวส์ไม่ได้

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics เมื่อปรากฏหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Check Disk Drive C ให้เลือกออปชั่น Automaticallyfix file system errors = ซ่อมแซมส่วนที่เกิดความผิดพลาดหรือเออเรอร์ของระบบให้โดยอัตโนมัติ และ Scan for and attempt recovery of bad sector =
สแกนหรือตรวจเช็ก และเรียกคืนส่วนที่เกิด Bad Sector บนจานดิสก์ จากนั้นคลิกปุ่มStart ระบบจะปรากฎหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์แจ้งเตือนให้คุณทราบว่า Windows can’t checkthe disk while it’s in user = วินโดวส์ไม่สามารถตรวจเช็กดิสก์ หรือไดรฟ์นี้ได้
เพราะกำลังถูกใช้งานอยู่ (ในกรณีที่ดิสก์ หรือไดรฟ์นั้นถูกติดตั้งวินโดวส์)

แต่ระบบจะทำการสแกนและซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์หลังจากรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ครั้งต่อไป โดยคลิกปุ่ม Scheduledisk check

สำหรับกรณีที่คุณใช้งานวินโดวส์ 8 ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Error Checking

ถ้าหากไดรฟ์ไม่มีปัญหา หรือข้อผิดพลาด (Error)ระบบก็จะแสดงข้อความให้คุณเห็นว่า you don’t need to scan this drive =
คุณไม่จำเป็นต้องสแกนดิสก์ หรือไดรฟ์นี้แต่เพื่อความแน่นอนแนะนำให้สแกนไดรฟ์ดีกว่า โดยคลิกที่ปุ่ม Scan driveอย่างไรก็ตามถ้าหากไดรฟ์มีปัญหา ให้คลิกปุ่ม Repair drive เพื่อซ่อมแซมส่วนที่มีปัญหา

 

ในขั้นตอนนี้เมื่อตรวจเช็ก ซ่อมแซมไดรฟ์ หรือฮาร์ดดิสก์เรียบร้อยแล้ว

ให้คลิกปุ่ม Show Details เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนที่มีปัญหาและซ่อมแซมผ่านเครื่องมือ Event Viewer อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการสแกนหรือตรวจเช็กไดรฟ์ C เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจเช็กหรือซ่อมแซมไดรฟ์ที่เหลือทุกไดรฟ์บนคอมพิวเตอร์ด้วย

 

เปิดคอมพิวเตอร์แล้ว สักพักคอมพิวเตอร์ดับคอมพิวเตอร์จะมีระบบป้องกัน

โดยการปิดหรือชัตดาวน์ตัวเองทันทีเมื่อคอมพิวเตอร์มีอุณหภูมิหรือความร้อนที่สูงมากเกินกว่าค่าที่ถูกกำหนดเอาไว้ (ซีพียูทำงานหนักมากเกินไป)ซึ่งโดยปกติแล้วสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ก็คือตัวพัดลมระบายความร้อนของเพาเวอร์ซัพพลายไม่ทำงาน
หรือพัดลมระบายความร้อนซีพียูไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเต็มที่และมีโปรแกรมหรือเซอร์วิสแปลกๆ บนวินโดวส์โหลดทรัพยากรซีพียูมากเกินไปซึ่งโปรแกรมเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมไวรัสที่เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

Posted by adminone in ความรู้พื้นฐาน