ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

การอ้างอิงไฟล์และตำแหน่งเอกสาร

การอ้างอิงไฟล์และตำแหน่งเอกสาร

ตำแหน่งเอกสาร Document-location การอ้างอิงไฟล์และตำแหน่งเอกสาร ไดเรกทอรี ใน PHP มีดังนี้

ตำแหน่งเอกสาร Document-location การทำเว็ปไซต์ด้วย PHP ต้องมีการเชื่อมโยงหลายไฟล์เข้าด้วยกันและต้องมีการอ้างอิงถึงไฟล์นั้นๆ หลายๆครั้งเราได้จัดเก็บไว้คนละที่จึงต้องมีการอ้างอิงไฟล์เหล่านั้นมาใช้งานร่วมด้วย เช่น ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์สำหรับนำไปแทรกต่างๆ ซึ่งฟังก์ชั่นการอ้างอิงก็มีหลายฟังก์ชั่น รวมไปถึง path การเรียกไฟล์ก็มีหลายแบบด้วยเช่นกัน เราควรศึกษาไว้ใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสม

การอ้างอิงถึง Document Root

เป็นการอ้างอิงไฟล์ไดเรกทอรี่แรกเริ่มต้นของเว็ปไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของผู้ดูแลระบบว่าอยู่ในตำแหน่งใด หากเราจำลองติดตั้งในเครื่องตัวเองด้วย AppServ ส่วนมากค่าดีฟอลต์ จะไปอยู่ที่ C:/AppServ/www จะเป็น root ของเว็ปไซต์เรา แต่หากเป็น URL ก็มักจะเป็น http://localhost

การอ้างอิง path แบบ absolute

จะเป็นการอ้างอิงถึงไฟล์ทุกๆไฟล์ที่เราจะนำมาใช้ โดยเริ่มต้นจาก doucument root เป็นหลักก่อนเสมอ ซึ่งนั่นทำให้การนำไปใช้เราจะเริ่มต้นอ้างอิงด้วยสัญลักษณ์ ” / ” ดังตัวอย่างนี้ <img src=”/phpmytest/img/logo.png”> แบบนี้ ระบบก็จะไปอ้างอิงนำไฟล์ภาพมาใช้ โดยเริ่มต้นที่ root ก่อนเลย แล้ววิ่งไล่มา path ที่เราระบุไว้

การอ้างอิง path แบบ relative

จะเป็นอีกหนึ่งวิธ๊ในการอ้างอิงไฟล์ โดยที่เทียบเคียงกับตำแหน่งไฟล์ที่เป็นเรียกไฟล์อื่นขึ้นมาเป็นหลัก โดยมีสัญลักษณ์ใช้เปรียบเทียบดังนี้

. จุด 1 จุด ใช้แทนไดเรทอรีปัจจุบัน

.. จุดสองจุด ใช้แทนไดรอทีก่อนหน้าของเรานี้ 1ระดับ

ลักษณะการทำงานจะเป็นแบบนี้ เช่นต้องการรูปภาพ logo.png มาแสดงที่เพจ test.html ที่ตอนนี้ใช้งานอยู่ จึงต้องอ้างอิงไฟล์ภาพถอยขึ้นไป 1 ระดับ <img src=”../img/logo.png”>

ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการแทรกไฟล์

คำสั่งนี้เป็นเรื่องจำเป็นมากๆ เราต้องแทรกไฟล์จากที่อื่นมาใช้ เช่น HTML, CSS, JAVASCRIPT หรือบาง PHP ก็ไม่ได้อยู่ในไฟล์เดียวกัน

include(file) เป็นฟังก์ชั่นในการแทรกไฟล์จากภายนอก โดยกำหนดชื่อไฟล์ (ถ้าเราเก็บไฟล์ไว้ในไดเรกทอรี่เดียวกัน) หรือกำหนดชื่อไฟล์ พร้อมตำแหน่งไฟล์ (หากเราเก็บไฟล์ไว้นอกไดเรกทอรี่ที่ทำงานอยู่)

include_once(file) เช่นเดียวกับ include การทำงานเหมือนกัน แต่แทรกเพียงครั้งเดียว ไม่แทรกซ้ำหากมีการเคยเรียกใช้แล้ว

require(file) เป็นแทรกไฟล์เหมือน include แต่ว่าเป็นนข้อบังคับ require ว่าต้องแทรกมาเสมอ ถึงแม้ว่าจะเกิด error หรือข้อผิดพลาดใดๆ

require_one(file) เป็นการแทรกเหมือน require แต่แทรกเพียงครั้งเดียว

Posted by adminone in คอมพิวเตอร์
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล

 

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics ขั้นตอนการตรวจเช็ก และแก้ปัญหาบูตคอมพิวเตอร์ช้า ติดตั้งวินโดวส์ไม่ได้

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Computer-basics เมื่อปรากฏหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Check Disk Drive C ให้เลือกออปชั่น Automaticallyfix file system errors = ซ่อมแซมส่วนที่เกิดความผิดพลาดหรือเออเรอร์ของระบบให้โดยอัตโนมัติ และ Scan for and attempt recovery of bad sector =
สแกนหรือตรวจเช็ก และเรียกคืนส่วนที่เกิด Bad Sector บนจานดิสก์ จากนั้นคลิกปุ่มStart ระบบจะปรากฎหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์แจ้งเตือนให้คุณทราบว่า Windows can’t checkthe disk while it’s in user = วินโดวส์ไม่สามารถตรวจเช็กดิสก์ หรือไดรฟ์นี้ได้
เพราะกำลังถูกใช้งานอยู่ (ในกรณีที่ดิสก์ หรือไดรฟ์นั้นถูกติดตั้งวินโดวส์)

แต่ระบบจะทำการสแกนและซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์หลังจากรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ครั้งต่อไป โดยคลิกปุ่ม Scheduledisk check

สำหรับกรณีที่คุณใช้งานวินโดวส์ 8 ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Error Checking

ถ้าหากไดรฟ์ไม่มีปัญหา หรือข้อผิดพลาด (Error)ระบบก็จะแสดงข้อความให้คุณเห็นว่า you don’t need to scan this drive =
คุณไม่จำเป็นต้องสแกนดิสก์ หรือไดรฟ์นี้แต่เพื่อความแน่นอนแนะนำให้สแกนไดรฟ์ดีกว่า โดยคลิกที่ปุ่ม Scan driveอย่างไรก็ตามถ้าหากไดรฟ์มีปัญหา ให้คลิกปุ่ม Repair drive เพื่อซ่อมแซมส่วนที่มีปัญหา

 

ในขั้นตอนนี้เมื่อตรวจเช็ก ซ่อมแซมไดรฟ์ หรือฮาร์ดดิสก์เรียบร้อยแล้ว

ให้คลิกปุ่ม Show Details เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนที่มีปัญหาและซ่อมแซมผ่านเครื่องมือ Event Viewer อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการสแกนหรือตรวจเช็กไดรฟ์ C เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจเช็กหรือซ่อมแซมไดรฟ์ที่เหลือทุกไดรฟ์บนคอมพิวเตอร์ด้วย

 

เปิดคอมพิวเตอร์แล้ว สักพักคอมพิวเตอร์ดับคอมพิวเตอร์จะมีระบบป้องกัน

โดยการปิดหรือชัตดาวน์ตัวเองทันทีเมื่อคอมพิวเตอร์มีอุณหภูมิหรือความร้อนที่สูงมากเกินกว่าค่าที่ถูกกำหนดเอาไว้ (ซีพียูทำงานหนักมากเกินไป)ซึ่งโดยปกติแล้วสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ก็คือตัวพัดลมระบายความร้อนของเพาเวอร์ซัพพลายไม่ทำงาน
หรือพัดลมระบายความร้อนซีพียูไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเต็มที่และมีโปรแกรมหรือเซอร์วิสแปลกๆ บนวินโดวส์โหลดทรัพยากรซีพียูมากเกินไปซึ่งโปรแกรมเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมไวรัสที่เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

Posted by adminone in ความรู้พื้นฐาน